มนุษย์รู้จักใช้อุปกรณ์ที่ใช้ประกบวัสดุตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเส้นด้ายเป็นตัวยึดผูก ยุคโบราณมนุษย์ใช้ก้างปลาเป็นอุปกรณ์นำพาเส้นด้ายไปยึดผูกวัสดุ หรือเย็บวัสดุให้ติดกัน แล้ววิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็น เข็ม ที่เรารู้จักกัน ใช้มือของมนุษย์ขับเคลื่อนเข็มในการเย็บ ต่อมาได้คิดค้น และผลิตจักรเย็บผ้ามาขับเคลื่อนเข็มแทนมือมนุษย์ จักรเย็บผ้ารุ่นแรกๆจึงมีชื่อเรียกว่ามือกล(mechanic hand) และพัฒนาเป็นจักรเย็บ และจักรอุตสาหกรรม ตามลำดับ ดังนั้นเข็มที่ใช้กับจักรจึงเรียกว่า เข็มจักร
ปัจจุบัน
เข็มจักร มีเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
เข็มจักรบ้าน บางคนเรียกเข็มจักรเล็ก หมายถึงเข็มที่ใช้กับจักรเล็ก (Domestic sewing machine) และ
เข็มจักรอุตสาหกรรม (Industrial sewing machines needle) เข็มจักรบ้านจะไม่ค่อยซับซ้อน โดยมากจะเป็นรหัส HAx1 ส่วนเข็มจักรอุตสาหกรรม ได้พัฒนาไปตามประเภทของจักรที่ใช้งานแตกต่างกันอย่างหลากหลาย ขอจำแนกโดยสังเขปดังนี้
เข็มจักรอุตสาหกรรมที่จำหน่ายทั่วไปในตลาด ที่ใช้สำหรับ -เย็บผ้า จำแนกตามชนิดของใยผ้าและโครงสร้างการทอ weaving หรือ woven รวมถึงผ้าถัก knitted ปลายเข็มแยกตามชนิดของผ้า คือปลายเข็มแหลม ปลายเข็มมนน้อย ถึงมนกลาง รหัส R RG FFG (SES) FG (SUK) SPI เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จำแนกตามประเภทของจักร จักรเย็บธรรมดาหรือเข็มเดี่ยว Lockstitch ใช้เข็ม DBx1 (1738) จักรเข็มคู่ DPx5 (134) DPX17 (135x17) 134-35 (DPx35) มีทั้ง Lockstitch และ Chainstitch หรือลูกโซ่ จักรโพ้ง ใช้เข็ม DCx1 หรือ DCx27 (B27) จักรลาชาย UY128 GAS UY128 GBS B63 จักรลา 4 เข็ม 6 เส้น UY118GAS UY118GBS UY118 GKS MY1014B MY1014H จักรลายาง UY113 GS UY113GHS 62x57 เข็มติดกระดุม TQx1 TQx7 เข็มเจาะกระเป๋า รหัส 190 เป็นต้น
กรณีงานที่เย็บยาก อาจจะเป็นเพราะเนื้อผ้า โครงสร้างผ้า หรือประเภทของผ้าที่เย็บ เช่นถ้าใช้เข็มขนาดใหญ่หน่อยก็เกิดปัญหาผ้าขาดรูเข็ม พอลดขนาดเข็มลง ก็เจอปัญหาฝีเข็มกระโดด หรือด้ายขาด กรณีเช่นนี้ GROZ-BECKERT จะมีเข็ม SAN ช่วยแก้ปัญหา เข็มพิเศษ SAN มีหลายแบบตามปัญหาที่แตกต่างกัน
SAN 10 หรือ SAN 10 XSใช้แก้ปัญหาผ้าบาง เช่นกลุ่มไมโครไฟเบอร์ - SAN 5 เข็มพิเศษที่ออกแบบสำหรับเย็บเบาะรถ มีความแข็งแกร่งกว่าเข็มธรรมดา - SAN 6 เข็มพิเศษเหมาะสำหรับผ้ายีน - SAN 12 เข็มพิเศษกรณีเย็บเข็มคู่บนเครื่องหนังแล้วตะเข็บซ้ายขวาดูต่างกัน เข็ม SAN ทุกแบบจะออกแบบเสริมความแกร่งเพื่อกันฝีเข็มกระโดดด้วย SAN 5 และ SAN 6 เป็นเข็มที่เคลือบไทเทเนียม ( GEBEDUR ) ซึ่งมีสีเหลืองเหมือนทอง - SAN 11 เข็มส่วนเว้าลึก หรือเข็ม MR เข็มที่ผลิตด้วยวิธีรีดขึ้นรูป ลำตัวเข็มหรือ Needle blade มีลักษณะคล้ายอักษร U มีชื่อทางการค้าว่า Delta-U ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ผลิตด้วยวิธีนี้แล้ว เพราะต้นทุนสูง
เข็มจักรแต่ละประเภท
- เข็ม TNC จากไต้หวันก็มีเข็มใช้แก้ปัญหาเย็บผ้าบาง โดยมีเข็ม KN และ KN SPI ซึ่งปลายเข็มจะเรียวยาวกว่าให้เลือก มีเข็มที่เคลือบโครเมียมธรรมดา และแบบเคลือบเซรามิค Ceramic ที่ปลายเข็มเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวกว่าหลายเท่า
- เข็ม SCHMETZ ก็มีเข็มพิเศษ SERV 7 เพื่อช่วยเรื่องฝีเข็มกระโดดสำหรับวัสดุหนา และมีเข็ม KN สำหรับผ้าบาง นอกจากนี้ หากวัสดุที่มีสารประเภทกาวเคลือบในเนื้อผ้า เวลาเย็บเข็มจะร้อน ทำให้กาวติดที่ตัวเข็ม เกิดปัญหาด้ายติดขัด รูเข็มอุดตัน เป็นต้น จะมีเข็มที่เคลือบนิคเกิลเทฟล่อน NIT ช่วยแก้ปัญหานี้
- เข็ม ORGAN ก็มีเข็มพิเศษหลากหลาย เย็บผ้าบางมีเข็ม KN NS หรือ SF ให้เลือก
-เย็บหนัง โดยทั่วไปอยู่ที่ต้องการรูปแบบของตะเข็บ สามารถใช้เข็มปลายแหลมทั่วไป หรือปลาย LR เพื่อให้ตะเข็บเป็นลักษณะเฉียงๆทุกฝีเข็ม หรือปลาย S เพื่อให้ตะเข็บเป็นแนวที่ตรงมาก รหัสเข็ม 134LR 134S ถ้าเย็บหนาต้องใช้เข็มที่ยาวกว่าหน่อย 134-35LR 134-35S
-เย็บกระสอบ มีเข็มหลากหลายตามเครื่องจักรที่ใช้ แต่ที่ใช้เย็บปากกระสอบ หรือปิดปากถุง โดยมากจะเป็น DNx1 UY143GS DRx2 FD5
- เข็มปัก หรือเข็มจักรปัก ทั่วไปใช้รหัส DBxK5
- เข็มปักลูกไม้ Schiffli รหัส 0854 110 S 110 S TOP SHx3 110 SA 854 S SHx1 L83 TOP
- เข็มจักรสอยชาย รหัส 1669 E EO 1671 E EO 1717 29 BA 29 BD 29 BK 29 BL 29 BLV 251 EL 251 EU 251 EUV 251 LG 265-5 265-50 4669 E EO LWx2T LWx6T
- เข็มปักลวดลายผ้านวม หรือคิ้วติ่ง Quilting ใช้เข็มรหัส 794H 794 H FR 794H FL 490(EBx1)
- เข็มจักรบ้าน หรือเข็มจักรเล็ก รหัส HAx1 ซึ่งปรกติมีสำหรับจำหน่ายปลีกด้วย